ประวัติความเป็นมา

โครงร่างองค์กร (Organization Profile)

โครงการจัดตั้งศูนย์ศิลปวัฒนธรรมล้านนา (ไต)

 

ส่วนที่ 1 ลักษณะองค์กร

ก.     สภาพแวดล้อมขององค์กร

(1)    ความเป็นมา[1]

มหาวิทยาลัยนเรศวรได้ตระหนักถึงความสำคัญของการกระจายโอกาส และการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา โดยได้พิจารณาแล้วเห็นว่า การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษายังไม่เอื้อต่อการขยับฐานะทางสังคม สัดส่วนของผู้รับบริการยังไม่สะท้อนสัดส่วนที่แท้จริงของภาพประชากรของประเทศ ผู้มีฐานะดียังคงได้เปรียบทางสังคม ซึ่งมีโอกาสในการศึกษามากกว่า รวมทั้งผู้ที่อยู่ห่างไกลยังด้อยโอกาสที่จะเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษา ประกอบกับมหาวิทยาลัยได้พิจารณาร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพะเยา รวมทั้งผู้แทนองค์กรต่าง ๆ จากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเห็นว่า จังหวัดพะเยาเป็นจังหวัดที่มีปัญหาด้านเศรษฐกิจ ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่ำสุดในเขตภาคเหนือ และระดับการศึกษาของประชากรโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำ ปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องยากที่จะทำการแก้ไขปัญหาช่องว่างทางเศรษฐกิจ และสังคมดังกล่าวสามารถแก้ไขได้แบบยั่งยืนด้วยการใช้กลไกทางการศึกษาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การที่จะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และสังคม โดยการให้การศึกษาระดับสูงแก่ประชาชนในจังหวัดพะเยา โดยเฉพาะการศึกษาระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวรจึงได้จัดทำโครงการกระจายโอกาสทางการศึกษาสู่จังหวัดพะเยาขึ้น การจัดโครงการดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายของทบวงมหาวิทยาลัย ที่สนับสนุนให้มหาวิทยาลัยขยายเขตการศึกษาออกไปสู่ภูมิภาค ทบวงมหาวิทยาลัยจึงได้พิจารณานำเสนอคณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2539 ได้มีมติให้เปลี่ยนชื่อเป็นวิทยาเขตสารสนเทศพะเยา

การดำเนินงานตามโครงการจัดตั้งวิทยาเขตสารสนเทศพะเยา ของมหาวิทยาลัยนเรศวรได้กำหนดเป้าหมายการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรปริญญาตรี ตั้งแต่ปีการศึกษา 2538 รวม 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการธุรกิจ และหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยนเรศวรได้จัดหาอาจารย์ที่มีคุณภาพจากมหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก และเชิญอาจารย์พิเศษจากมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาอื่น ตลอดจนเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้มีความรู้ความสามารถพิเศษ จากภายในและต่างประเทศมาทำการสอนที่จังหวัดพะเยาโดยผ่านระบบเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา (INTERACTIVE MULTIPOINT VIDEO CONFERENCING SYSTEM) หรืออุปกรณ์ระบบเครือข่ายการเรียนการสอนทางไกลแบบ 2 ทาง ระหว่างจังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดพะเยา ระยะเริ่มแรก ได้จัดการเรียนการสอนเฉพาะวันเสาร์ – อาทิตย์ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการเรียนการสอนของโรงเรียน และภารกิจการสอนของอาจารย์มหาวิทยาลัยนเรศวรที่จะเดินทางไปสอนที่จังหวัดพะเยาด้วย โดยขอใช้อาคารเรียนของโรงเรียนพะเยาพิทยาคมเป็นการชั่วคราว มหาวิทยาลัยได้ปรับปรุงอาคาร 2 หลังเป็นห้องเรียนและห้องบริหาร ประกอบด้วยห้องเรียนจุนิสิตได้ห้องละประมาณ 60 คน จำนวน 16 ห้อง และจุนิสิตได้ 120 คน จำนวน 4 ห้อง ห้องสำนักงานบริหารและห้องพักอาจารย์ 1 ห้อง และห้องคอมพิวเตอร์ จำนวน 40 ชุด 1 ห้อง เพื่อใช้ในวันเสาร์ – อาทิตย์ สำหรับวันจันทร์ – ศุกร์ ให้ใช้สอนนักเรียนของโรงเรียนพะเยาพิทยาคม

สำหรับสถานที่ตั้งถาวร มหาวิทยาลัยนเรศวรได้ร่วมกับจังหวัดพะเยาจัดหาสถานที่ตั้งและแผนการหาที่ตั้งและแผนการก่อสร้างอาคารสถานที่ให้สอดคล้องกับแผนการจัดการเรียนการสอน ณ บริเวณตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ประกอบด้วยที่ดินจำนวน 5,727 ไร่ ซึ่งเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงมหาดไทย จำนวน 1,147 ไร่ และที่ป่าสงวนแห่งชาติภายใต้การกำกับดูแลของกรมป่าไม้จำนวน 4,580 ไร่ ซึ่งขณะนี้ได้รับอนุญาตให้มหาวิทยาลัยใช้ประโยชน์เรียบร้อยแล้ว สำหรับการพัฒนาพื้นที่ จังหวัดพะเยาได้มอบเงินจำนวน 2,000,000 บาท เป็นค่าทำถนนชั่วคราวความยาวประมาณ 3 กิโลเมตร เข้าพื้นที่ ขณะเดียวกัน มหาวิทยาลัยก็ได้รับงบประมาณดำเนินการก่อสร้างอาคารสถานที่ประกอบด้วย อาคารเรียนรวม พื้นที่ประมาณ 20,000 ตร.ม. อาคารบริหาร และบริการ พื้นที่ประมาณ 8,150 ตร.ม. การติดตั้งระบบไฟฟ้าเข้าไปภายในบริเวณอาคารของมหาวิทยาลัย การก่อสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำ ก่อสร้างถนนลาดยาง ความยาว 4 กิโลเมตร กว้าง 8 เมตร การก่อสร้างโรงกรองน้ำประปา ปัจจุบันก่อสร้างสถานที่ดังกล่าวได้แล้วเสร็จพร้อมที่จะจัดการเรียนการสอนได้ในปีการศึกษา 2542 เป็นปีแรก มหาวิทยาลัยจึงได้ย้ายสถานที่จัดการเรียนการสอนไปยังบริเวณที่ตั้งถาวร ตั้งแต่ปีการศึกษา 2542 เป็นต้นมา

 

 

แนวคิดในการจัดตั้งสถาบันศึกษาและสืบสานศิลปวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม

ล้านนา(ไต)

นโยบายบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลได้ให้ความสำคัญในด้านวัฒนธรรม โดยมุ่งส่งเสริมให้ นักเรียน นักศึกษา ได้สืบค้นและศึกษาเรื่องราวของมรดกศิลปวัฒนธรรมไทยเพื่อการอนุรักษ์ เผยแพร่ และสืบสานศิลปวัฒนธรรมไทย พัฒนาแหล่งวัฒนธรรม ศิลปวัตถุ และโบราณสถาน ให้เป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งรายได้ของประชาชน ประสานให้ประชาชนและเยาวชนมีบทบาทและกิจกรรมด้าน ศิลปวัฒนธรรมร่วมกับสถานศึกษา ครอบครัว และชุมชน รวมถึงสนับสนุนให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิดชูและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยอย่างสมศักดิ์ศรีและสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยนเรศวรในฐานะ ที่เป็นสถานศึกษาที่มีพันธกิจสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล กล่าวคือการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมนับเป็นพันธกิจที่สำคัญประการหนึ่งของมหาวิทยาลัยนเรศวร ที่มิใช่เพียงเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูเท่านั้นแต่ยังสร้างองค์ความรู้และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในด้านศิลปวัฒนธรรมไปพร้อม ๆ กันด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมองศิลปวัฒนธรรมในมิติของการสอนศิลปวัฒนธรรมกับการวิจัยและศิลปวัฒนธรรมกับการบริการชุมชน รวมทั้งยังต้องเตรียมความพร้อมด้านกายภาพ เช่น การก่อสร้างอาคารต่าง ๆ ไว้เป็นแหล่งข้อมูลเพื่อการค้นคว้าแบบยั่งยืนด้วย

โครงการจัดตั้งสถาบันศึกษาและสืบสานศิลปวัฒนธรรม สถาปัตยกรรมล้านนา (ไต)เป็นอีกหนึ่งยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดแบบบรูณาการของจังหวัดพะเยา ให้เป็นเมืองน่าอยู่ ประชาชนมีรายได้พอเพียงกับรายจ่ายที่จำเป็น มีโอกาสพัฒนาตนเองให้อยู่ดีมีสุข ชุมชนเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ จังหวัดพะเยาจึงได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา จัดทำโครงการจัดตั้งสถาบันศึกษาและสืบสานศิลปวัฒนธรรม สถาปัตยกรรมล้านนา (ไต) เนื่องจากจังหวัดพะเยามีเรื่องราวเชิงประวัติศาสตร์ที่มีความเชื่อมโยงทางวัฒนธรรมกับเชียงใหม่และสุโขทัย มีความเจริญรุ่งเรืองด้านศิลปวัฒนธรรม ที่มีคุณค่ายิ่ง มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมของชาติพันธุ์ เช่น เย้า ม้ง ไทลื้อ ฯลฯ มีกระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบเวทีประชาคม ในระดับหมู่บ้าน อันก่อให้เกิดภูมิปัญญาชาวบ้าน นอกจากนี้จังหวัดพะเยายังเป็นศูนย์กลางของล้านนา สามารถเชื่อมโยงทางการคมนาคมของจังหวัดต่าง ๆ ในภาคเหนือได้ การจัดตั้งสถาบันวิจัยฯ ดังกล่าว จะตอบสนองยุทธศาตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันเกี่ยวกับการนำคุณค่าด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและธรรมชาติ เพื่อเป็นฐานในการสร้างรายได้ ทั้งด้านการท่องเที่ยวและหัตถอุตสาหกรรม รวมถึงเป็นศูนย์กลางการศึกษาค้นคว้าวิจัย ด้านศิลปวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรมในเขตภาคเหนือตอนบน และยังแสดงถึงบทบาทของมหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา ที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาจังหวัดพะเยาในมิติพื้นที่ โดยเริ่มก่อตั้งโครงการจัดตั้งสถาบันศึกษาและสืบสานศิลปวัฒนธรรม สถาปัตยกรรมล้านนา (ไต)[2]

เมื่อปีพ.ศ. 2546 ได้มีคำสั่งมหาวิทยาลัยนเรศวร ที่ 2338/2546 แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการสถาบันศึกษาและวิจัย ศิลปวัฒนธรรมสถาปัตยกรรมล้านนา มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา เพื่อดำเนินการศึกษาวิเคราะห์วางแผนยุทธศาสตร์เพื่อการจัดตั้งสถาบัน จัดทำแผนการจัดการเรียนการสอนแผนพัฒนาวิชาการด้านศิลปวัฒนธรรมสถาปัตยกรรมล้านนา จัดทำแผนการก่อสร้างอาคารต่าง ๆ ประกอบด้วย อาคารศึกษาค้นคว้าวิจัยและอาคารอื่น ๆ ที่เหมาะสม และหน้าที่อื่นๆที่มหาวิทยาลัยมอบหมาย

ในการประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 1 /2546 ได้มีมติเห็นด้วยที่จะให้อาจารย์วิถี พานิชพันธ์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ 1 สิงหาคม พ.ศ.2547 มหาวิทยาลัยได้จ้างอาจารย์วิถี พานิชพันธ์ ในตำแหน่งผู้มีความรู้ความสามารถพิเศษ ดำเนินการโครงการตามแนวทางที่คณะกรรมการได้วางไว้ ต่อมาในปีงบประมาณ 2558 จึงได้เริ่มจัดโครงการด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมเป็นประจำทุกปี จนกระทั่งวันที่ 17 สิงหาคม 2553 มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา ได้ยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยพะเยา จึงได้มีคำสั่งมอบอำนาจให้รักษาการในตำแหน่งรองอธิการบดี กำกับการบริหาร สั่งการ และปฏิบัติการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา ในการกำกับดูแลโครงการจัดตั้งศูนย์ศิลปวัฒนธรรมล้านนา (ไต) โดยลำดับดังนี้

-        คำสั่งมหาวิทยาลัยพะเยา ที่ 335/2553 ตั้งแต่วันที่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2553 มอบอำนาจให้ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชาลี ทองเรือง รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต กำกับการบริหาร สั่งการ

-        คำสั่งมหาวิทยาลัยพะเยา ที่ 1029/2555 ตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2555 มอบอำนาจให้ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุระพล ภานุไพศาล รองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ กำกับการบริหาร สั่งการ

-        คำสั่งมหาวิทยาลัยพะเยา ที่ 1124/2556 ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2556 มอบอำนาจให้ ดร.ปราณี อยู่ศิริ รักษาการในตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ กำกับการบริหาร สั่งการ

-        คำสั่งมหาวิทยาลัยพะเยา ที่ 1367/2556 ตั้งแต่วันที่ 5 สิงหาคม 2556 มอบอำนาจให้ นายวุฒิชัย ไชยรินคำ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต กำกับการบริหาร สั่งการ

-        คำสั่งมหาวิทยาลัยพะเยา ที่ 1724 /2557 ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2557 มอบอำนาจให้ นายวุฒิชัย ไชยรินคำ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต กำกับการบริหาร สั่งการ ถึงปัจจุบัน

-        คำสั่งมหาวิทยาลัยพะเยา ที่ 300 /2562 ตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม 2562 มอบอำนาจให้ นายวุฒิชัย ไชยรินคำ รองอธิการบดีฝ่ายคุณภาพนิสิต กำกับการบริหาร สั่งการ และปฏิบัติการแทนอธิการบดี ถึงปัจจุบัน

 

(2)   ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ และเป้าหมาย

ปรัชญา

          “ปญฺญาชีวี เสฏฺฐชีวี นาม” คือ “ดำรงชีวิตด้วยปัญญา ประเสริฐที่สุด”

          หรือ “ A Life of Wisdom Is the Most Wondrous of All”

ปณิธาน

          “ปัญญาเพื่อความเข้มแข็งของชุมชน” หรือ “Wisdom for Community Empowerment”

วิสัยทัศน์[3]

เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าข้อมูลและถ่ายทอดความรู้ในด้านศิลปวัฒนธรรมล้านนา (ไต) ปลุกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น และเกิดการสร้างโอกาสในการกระจายรายได้สู่ชุมชน ประชาชนในท้องถิ่นสามารถปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมได้

พันธกิจ[4]

1. ศึกษาวิจัย ศิลปวัฒนธรรมล้านนา (ไต) เพื่อเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าข้อมูล และถ่ายทอดความรู้ ด้านประวัติศาสตร์ความเป็นมาในด้านต่าง ๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อชุมชนรุ่นหลัง อันจะทำให้เกิดภูมิปัญญาแห่งการเรียนรู้ในด้านศิลปวัฒนธรรม

2. สืบสานวัฒนธรรมที่ดีงามของชาติ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาแบบบูรณการและยั่งยืน

3. ธุรกิจบริการ ทั้งด้านการท่องเที่ยวและหัตถอุตสาหกรรม ซึ่งทำให้เกิดการกระจายรายได้สู่ประชาชน

4. การจัดการวิถีชีวิตชุมชนชาวบ้านให้รองรับการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นภายในชุมชนไม่ว่าจะเกิดจากปัจจัยภายในหรือจากสภาวะแวดล้อมภายนอกที่ส่งผลกระทบเข้ามา

5. สร้างมูลค่าเพิ่มทางวัฒนธรรมที่สืบทอดมาอย่างยาวนาน

วัตถุประสงค์[5]

1. เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันเกี่ยวกับการนำคุณค่าด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและธรรมชาติ เพื่อเป็นฐานในการสร้างรายได้ ทั้งด้านท่องเที่ยวและหัตถอุตสาหกรรม

2. เพื่อเป็นศูนย์กลางการศึกษาค้นคว้า วิจัย ด้านศิลปวัฒนธรรม และสถาปัตยกรรม ในเขตภาคเหนือตอนบน

3. เพื่อกำหนดบทบาทของมหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา ให้มีส่วนร่วมการพัฒนาในมิติพื้นที่

เป้าหมาย[6]

เป็นศูนย์วัฒนธรรมภาคเหนือ โดยให้บริการเป็นศูนย์ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และการท่องเที่ยว รวมทั้งหัตถอุตสาหกรรมที่เป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่นในจังหวัด

 

(3)   ลักษณะโดยรวมของบุคลากร

ปีงบประมาณ 2562 โครงการจัดตั้งศูนย์ศิลปวัฒนธรรมล้านนา (ไต) มีบุคลากรทั้งสิ้น 3 คน ซึ่งเป็นพนักงานสายบริการ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป จำนวน 3 คน แบ่งตามวุฒิการศึกษา ดังนี้

ตารางแสดงวุฒิการศึกษาของบุคลากร

ลำดับ

รายชื่อบุคลากร

ระดับป.ตรี

ระดับป.โท

ระดับป.เอก

1.

นายนริศ ศรีสว่าง

ศป.บ.

(ศิลปะไทย)

ศศ.ม. (การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม)

-

2.

นางรัชช์นันท์ ทำทอง

บธ.บ.(การจัดการทั่วไป)

-

-

3.

นายธีระ ธิวงศ์

ศศ.บ.(ดนตรีไทย)

-

-



[1] เอกสารร่างโครงการจัดตั้งสถาบันศึกษาและสืบสานศิลปวัฒนธรรม สถาปัตยกรรมล้านนา (ไต) ของมหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา

[2] เอกสารร่างโครงการจัดตั้งสถาบันศึกษาและสืบสานศิลปวัฒนธรรม สถาปัตยกรรมล้านนา (ไต) ของมหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา

[3] เอกสารร่างโครงการจัดตั้งสถาบันศึกษาและสืบสานศิลปวัฒนธรรม สถาปัตยกรรมล้านนา (ไต) ของมหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา

[4] เรื่องเดียวกัน

[5] เอกสารร่างโครงการจัดตั้งสถาบันศึกษาและสืบสานศิลปวัฒนธรรม สถาปัตยกรรมล้านนา (ไต) ของมหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา

[6] เรื่องเดียวกัน

HTML CONTENT


เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าข้อมูลและถ่ายทอดความรู้ในด้านศิลปวัฒนธรรมล้านนา (ไต) ปลุกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและเกิดการสร้างโอกาสในการกระจายรายได้สู่ชุมชนประชาชนในท้องถิ่นสามารถปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมได้


1.ศึกษาวิจัย ศิลปวัฒนธรรมล้านนา (ไต) เพื่อเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าข้อมูล และถ่ายทอดความรู้ ด้านประวัติศาสตร์ความเป็นมาในด้านต่าง ๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อชุมชนรุ่นหลัง อันจะทำให้เกิดภูมิปัญญาแห่งการเรียนรู้ในด้านศิลปวัฒนธรรม

2.สืบสานวัฒนธรรมที่ดีงามของชาติ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาแบบบูรณการและยั่งยืน

3.ธุรกิจบริการ ทั้งด้านการท่องเที่ยวและหัตถอุตสาหกรรม ซึ่งทำให้เกิดการกระจายรายได้สู่ประชาชน

4.การจัดการวิถีชีวิตชุมชนชาวบ้านให้รองรับการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นภายในชุมชนไม่ว่าจะเกิดจากปัจจัยภายในหรือจากสภาวะแวด ล้อมภายนอกที่ส่งผลกระทบเข้ามา

5.สร้างมูลค่าเพิ่มทางวัฒนธรรมที่สืบทอดมาอย่างยาวนาน


1.เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันเกี่ยวกับการนำคุณค่าด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและธรรมชาติเพื่อเป็นฐานในการสร้างรายได้ทั้งด้านท่องเที่ยวและหัตถอุตสาหกรรม

2.เพื่อเป็นศูนย์กลางการศึกษาค้นคว้า วิจัยด้านศิลปวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรม ในเขตภาคเหนือตอนบน

3.เพื่อกำหนดบทบาทของมหาวิทยาลัยนเรศวรวิทยาเขตสารสนเทศพะเยาให้มีส่วนร่วมการพัฒนาในมิติพื้นที่

นายนริศ ศรีสว่าง

ตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป

(รักษาการในตำแหน่งหัวหน้างานโครงการจัดตั้งศูนย์ศิลปวัฒนธรรมล้านนา (ไต)

นางรัชช์นันท์ ทำทอง

ตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป

นายธีระ ธิวงศ์

ตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป

       

แนะนำหน่วยงาน

HTML CONTENT
โครงการจัดตั้งศูนย์ศิลปวัฒนธรรมล้านนา(ไต) มหาวิทยาลัยพะเยา
19 หมู่ 2 ต.แม่กา อ.เมือง จ.พะเยา 56000
โทร. 0-5446- 6666 ต่อ 3864
โทรสาร 0-5446- 6690
e-mail : lanna.universityofphayao@gmail.com

แก้ไขเว็บนี้

Facebook